คำอธิบาย
ข่าวดี!! มี SSL อายุการใช้งาน 2-4 ปี ติดตั้งยาวๆ ราคา 199 บาท
ด้วยโดเมน
login.hotspot.in.th
คลิกเลย
………………………………………………….
ขั้นตอนการติดตั้ง SSL Certificate บน Mikrotik
ขั้นตอนที่ 1 หลังจากสมัครสมาชิกเรียบร้อยแล้ว สามารถดาวน์โหลดตัวไฟล์ SSL Sertificate ได้จากส่วนท้ายของบทความนี้ได้เลย และให้นำไปแตกZip ออกจะได้ไฟล์ 3 ไฟล์ นั่นคือ
- login_mnc_co_th.crt
- login_mnc_co_th.ca-bundle
- login_mnc_co_th.key
ให้อัพโหลดไฟล์ทั้งสามเข้าไปยัง Mikrotik จากรูปที่ 2โดยคลิกที่เมนูด้านซ้ายของโปรแกรม Winbox เมนู Files จากนั้นกดปุ่ม Upload {หมายเลข 1} หน้าต่างวินโดวส์จะเปิดออกมาให้เราเบราซ์ไปยังที่เก็บไฟล์ทั้ง 3 แล้วทำการเลือกทุกไฟล์ {หมายเลข 2} จากนั้นกด Open {หมายเลข 1} ระบบจะอัพโหลดไฟล์ไปยัง Mikrotik ทันที
เมื่ออัพโหลดเสร็จ ไฟล์จะอยู่บน Mikrotik เรียบร้อยแล้ว อาจจะลองเลื่อนๆหาดู ซึ่งจะเจอคล้ายๆกับรูปที่ 3 และไฟล์สามารถจะอยู่ตรงไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเหมือนตามรูป
[the_ad id=”131861″]
ขั้นตอนที่ 2 จากนั้นจะเข้าสู้ขั้นตอนการ Import Certificate แล้ว โดยเข้าไปคลิกเลือกที่เมนู System {หมายเลข 1} -> Certificates {หมายเลข 2} จะมีหน้าต่าง Import ไฟล์เปิดออกมาตามรูปที่ 4
ต่อไปนี้จะเป็นการ Import ไฟล์ Certificate ที่ละไฟล์ โดยเริ่มจากไฟล์ login_mnc_co_th.crt เป็นไฟล์แรก โดยทำตามขั้นตอนตามรูปที่ 5
เมื่อ Import ไฟล์แรกไปแล้วจะได้ผลลัพธ์ออกมาตามรูปที่ 6
ต่อมาเป็นไฟล์ที่2 ที่จะต้อง Import คือ login_mnc_co_th.ca-bundle ตามรูปที่ 7
เมื่อ Import ไฟล์ที่ 2 สำเร็จแล้วจะได้ผลลัพธ์ ตามรูปที่ 8
และมาถึงไฟล์สุดท้ายที่จะต้อง Import คือ login_mnc_co_th.key ดำเนินการตามรูปที่ 9
เมื่อไฟล์ทั้ง 3 ถูกImport หมดแล้วจะได้ผลลัพธ์ตามรูปที่ 10 ให้สังเกตุบรรทัดที่ขีดเส้นแดง จะเป็นชื่อที่เราเองไปใช้งาน และสังเกตุช่องด้านหน้า จะต้องแสดงข้อความ KLT ถือว่าขั้นตอนการ Import ไฟล์นั้นถูกต้องแล้ว
ขั้นตอนที่ 3 นำข้อมูล SSL ที่ได้จากขั้นตอนก่อนหน้านี้ มาใช้งานกับ HTTPS ของการล๊อกอินเข้าระบบ Hotspot จากรูปที่ 11 คลิกเลือกเมนู IP -> Services {หมายเลข 1} จากนั้นเลือก Certificate ตามหมายเลข {2, 3, 4}
และมาต่อที่รูปที่ 12 คลิกเมนู IP -> Hotspot {หมายเลข 1} เลือกแท๊บ Server Profiles {หมายเลข 2} คลิกที่แท๊บ Login {หมายเลข 3} ติ๊กที่ HTTPS {หมายเลข 4} จากนั้นให้กดเข้าไปเลือก SSL Certificate ตาม{หมายเลข 5} เลือก Certificate {หมายเลข 6} แล้วคลิกไปรอที่แท็บ General {หมายเลข 7} เพื่อไปต่อในรูปถัดไป
มาต่อกันตามรูปที่ 13 ให้กำหนดในช่อง DNS Name: ให้ใส่ login.mnc.co.th (เท่านั้น) แล้วกด Apply และ OK ตามรูป
ทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ถือว่าเสร็จสิ้นขั้นตอนการติดตั้ง SSL Certificate ให้ Mikrotik สำหรับทำ HTTPS ให้ Hotspot แล้ว และสามารถทดสอบการใช้งานได้เลย โดยรูปที่ 14 จะเป็นการใช้งานเข้าระบบ Hotspot ด้วยพีซี และ รูปที่ 15 เป็นการเข้าใช้งานด้วยมือถือ
[the_ad id=”131861″]
จะสังเกตุได้ว่าสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง เบราเซอร์แสดงผลและรองรับการทำงานของ SSL Certificate ได้อย่างถูกต้อง ดังแสดงให้เห็นเป็นแม่กุญแจที่ล๊อกอยู่เขียวปี๋
ถึงตรงนี้หวังว่าคงจะมีประโยชน์กับผู้ที่สนใจนำไปใช้งานอยู่พอสมควร เพื่อช่วยให้การใช้งานสะดวกยิ่งขึ้น
หากการติดตั้งหรือใช้งานมีปัญหาประการใด สามารถ โพสต์ปัญหาไว้ตามช่องคอมเม้นท์ด้านล่างหรือจะ Add Line เข้ามาคุยก็ได้ครับ